เทคนิคการถ่ายภาพอย่างหนึ่งคือการเรียนรู้วิธีควบคุมระยะชัดลึกเป็นประตูสู่การสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่แม่นยำและประสบความสำเร็จ David Clapp จะอาสาเป็นผู้แนะนำให้กับคุณ
การควบคุมระยะชัดลึกคือกุญแจสู่การถ่ายภาพที่ประสบความสำเร็จ การจัดการให้วัตถุชัดหรือไม่ชัดนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความงามในภาพซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะตัวแบบเป็นสำคัญ อย่างเช่นในการถ่ายภาพทิวทัศน์เราก็มักจะใช้ระยะชัดลึกที่กว้างเพื่อครอบคลุมความคมชัดของภาพตั้งแต่ฉากหน้าไปจนถึงฉากหลัง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ดูสามารถสอดส่ายสายตาลงบนรายละเอียดในส่วนต่างๆ ของภาพ ตั้งแต่ก้อนเมฆที่อยู่ในระยะไกลมาจนถึงหาดทรายที่อยู่ตรงปลายเท้าของคุณ
ในทางกลับกัน ภาพถ่ายมาโครก็มักจะวางจุดโฟกัสที่คมชัดควบคู่ไปกับพื้นที่หลุดโฟกัสฉากหลัง ภาพเกสรที่คมชัดตัดกับพื้นที่ความเบลอ ช่วยทำให้ภาพดอกไม้นี้มีความบอบบางและส่งผลก่อให้เกิดความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
คราวหน้าหากคุณได้ดูงานภาพโฆษณา ลองสังเกตถึงสิ่งที่โฆษณานั้นต้องการจะขาย และเทคนิคการถ่ายภาพที่งานนั้นเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นอัญมณีหรือแพ็กเก็จท่องเที่ยง ระยะชัดลึกก็จะเป็นตัวดึงสายตาคุณเข้าไปสู่พื้นที่ที่ควรจะเป็น ซึ่งก็คือตัวสินค้านั้นเอง
แล้วเช่นนั้นคุณจะปรับปรุงการใช้ระยะชัดลึกของคุณได้อย่างไร? ความเข้าใจในเลนส์ของคุณของถ่องแท้คือคำตอบ ระยะชัดลึกจะเพิ่มขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังของระนาบโฟกัส (หรือจุดโฟกัส) เมื่อคุณหรี่รูรับแสงให้เล็กลง ส่งผลทำให้พื้นที่ทั้งสองด้านนั้นมีความคมชัดเพิ่มขึ้น รูรับแสงกว้าง (เช่น f/2.8) จะมีพื้นที่ความคมชัดน้อย ขณะที่รูรับแสงที่เล็กกว่า (เช่น f/16) จะส่งผลให้ภาพมีพื้นที่ความคมชัดมากขึ้น
แต่การเลือกใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบและเลนส์ที่คุณเลือกใช้ด้วยเช่นกัน คงไม่มีเหตุผลใดที่เราจะถ่ายภาพทิวทัศน์ในระยะไกลด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ที่รูรับแสง f/16 เนื่องจากไม่มีวัตถุใดเลยที่อยู่ใกล้ตัวช่างภาพ
การปรับโฟกัสเลนส์
การเรียนรู้ที่จะโฟกัสเลนส์ของคุณด้วยเทคนิคไฮเปอร์โฟกัส (Hyperfocal) คือคำตอบสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ภายใต้สถานการณ์ที่ชวนปวดหัว ลองจินตนาการถึงภาพฉากภูเขาที่มีกระท่อมและดอกไม้ห่างจากคุณออกไปเพียงไม่กี่เมตร คุณสามารถที่จะเก็บทุกส่วนของภาพให้มีความคมชัดได้หากคุณวางจุดโฟกัสไว้ถูกตำแหน่ง แต่ถ้าคุณโฟกัสไปที่ภูเขา (ที่ระยะอินฟินิตี้) ดอกไม้บริเวณฉากหน้าก็จะไม่คมชัดแม้ว่าคุณจะเลือกใช้ค่า f/22 แล้วก็ตาม นั่นก็เพราะคุณยังไม่ได้ใช้งานพื้นที่ซึ่งอยู่ด้านหลังระนาบโฟกัสนั่นเอง ด้วยการเลื่อนจุดโฟกัสย้อนกลับไปทางกระท่อม เลนส์ของคุณก็จะสามารถใช้พื้นที่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังระนาบโฟกัสได้ ซึ่งหมายความว่าภาพดอกไม้ของคุณจะกลับเข้ามาอยู่ในโฟกัสโดยไม่สูญเสียความคมชัดใดใดในภาพเลย
เทคนิค การตั้งค่ากล้อง SLR ที่สำคัญ
ขั้นตอนง่ายๆ ในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้มีความคมชัดสูงสุด
ควบคุมด้วยระบบแมนวล
ในการกำหนดระยะชัดลึก ให้คุณปรับกล้องไว้ที่โหมด AV หรือ M (Aperture Priority หรือ Manual) เพื่อที่คุณจะสามารถควบคุมองค์ประกอบภาพและพื้นที่ที่คุณต้องการให้มีความคมชัด อย่าลืมปรับระบบโฟกัสของเลนส์ให้เป็นระบบแมนวล (MF) ด้วยเช่นกัน
ในการกำหนดระยะชัดลึก ให้คุณปรับกล้องไว้ที่โหมด AV หรือ M (Aperture Priority หรือ Manual) เพื่อที่คุณจะสามารถควบคุมองค์ประกอบภาพและพื้นที่ที่คุณต้องการให้มีความคมชัด อย่าลืมปรับระบบโฟกัสของเลนส์ให้เป็นระบบแมนวล (MF) ด้วยเช่นกัน
ใช้ปุ่มตรวจสอบความชัดลึก
ฟังก์ชั่นตรวจสอบความชัดลึก ( Depth of Field Preview ) ในกล้องถ่ายภาพของคุณมีความสำคัญในการตรวจดูช่วงความชัดลึกภายในภาพก่อนที่คุณจะกดชัตเตอร์ จำไว้ด้วยว่า ก่อนที่คุณจะกดปุ่มนี้ ช่องมองภาพจะแสดงภาพที่ค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดเสมอ
ฟังก์ชั่นตรวจสอบความชัดลึก ( Depth of Field Preview ) ในกล้องถ่ายภาพของคุณมีความสำคัญในการตรวจดูช่วงความชัดลึกภายในภาพก่อนที่คุณจะกดชัตเตอร์ จำไว้ด้วยว่า ก่อนที่คุณจะกดปุ่มนี้ ช่องมองภาพจะแสดงภาพที่ค่ารูรับแสงที่กว้างที่สุดเสมอ
เปลี่ยนมาใช้โหมด Live View
โหมด Live View (ซึ่งมักจะมีในกล้อง D-SLR แทบทุกรุ่น) คือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ เมื่อคุณกดปุ่มตรวจสอบความชัดลึก ( Depth of Field Preview ) ขณะที่อยู่ในโหมด Live View จะช่วยทำให้คุณเห็นว่าส่วนในของภาพที่อยู่ในโฟกัสได้อย่างชัดเจน วิธีนี้จะช่วยให้คุณหาตำแหน่งจุดโฟกัสของภาพเพื่อเพิ่มระยะชัดลึกของภาพให้ได้มากที่สุด
โหมด Live View (ซึ่งมักจะมีในกล้อง D-SLR แทบทุกรุ่น) คือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ เมื่อคุณกดปุ่มตรวจสอบความชัดลึก ( Depth of Field Preview ) ขณะที่อยู่ในโหมด Live View จะช่วยทำให้คุณเห็นว่าส่วนในของภาพที่อยู่ในโฟกัสได้อย่างชัดเจน วิธีนี้จะช่วยให้คุณหาตำแหน่งจุดโฟกัสของภาพเพื่อเพิ่มระยะชัดลึกของภาพให้ได้มากที่สุด
- ใช้ขาตั้งกล้อง
ความแม่นยำในภาพสามารถทำให้ภาพของคุณประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ดังนั้นอย่าลืมตั้งกล้องของคุณบนขาตั้งกล้องทุกครั้ง ความสั่นไหวสามารถสร้างปัญหาทำให้ภาพนุ่มเบลอ ดังนั้นคุณจึงควรขันตัวเล็กต่างๆ ให้แน่นหนาก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ
ความแม่นยำในภาพสามารถทำให้ภาพของคุณประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ดังนั้นอย่าลืมตั้งกล้องของคุณบนขาตั้งกล้องทุกครั้ง ความสั่นไหวสามารถสร้างปัญหาทำให้ภาพนุ่มเบลอ ดังนั้นคุณจึงควรขันตัวเล็กต่างๆ ให้แน่นหนาก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ
- เร่งให้เร็ว
รูรับแสงที่กว้างทำให้คุณสามารถทิ้งขาตั้งกล้องและถ่ายด้วยมือแทนได้ และระยะชัดลึกที่แคบแบบนี้ (อย่างเช่น f/2.8) ก็หมายถึงค่าความไวชัตเตอร์ที่สูงขึ้น การปรับเปลี่ยนค่า ISO จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมสัดส่วนความไวชัตเตอร์ตามกฎ 1/ทางยาวโฟกัสได้ (ถ่ายภาพด้วยเลนส์ 50มม. ที่ค่าความไวชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/50 วินาที)
รูรับแสงที่กว้างทำให้คุณสามารถทิ้งขาตั้งกล้องและถ่ายด้วยมือแทนได้ และระยะชัดลึกที่แคบแบบนี้ (อย่างเช่น f/2.8) ก็หมายถึงค่าความไวชัตเตอร์ที่สูงขึ้น การปรับเปลี่ยนค่า ISO จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมสัดส่วนความไวชัตเตอร์ตามกฎ 1/ทางยาวโฟกัสได้ (ถ่ายภาพด้วยเลนส์ 50มม. ที่ค่าความไวชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/50 วินาที)
- ตรวจเช็คโฟกัส
ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติหรือไม่ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบและสไตล์ภาพของคุณเป็นหลัก คุณจำเป็นต้องตรวจเช็คการโฟกัสของคุณอย่างสม่ำเสมอเวลาที่คุณถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยระบบแมนวลโฟกัส ความสับสนระหว่างวงแหวนซูมกับวงแหวนโฟกัสสามารถทำลายภาพถ่ายของคุณได้โดยง่าย
ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติหรือไม่ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบและสไตล์ภาพของคุณเป็นหลัก คุณจำเป็นต้องตรวจเช็คการโฟกัสของคุณอย่างสม่ำเสมอเวลาที่คุณถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยระบบแมนวลโฟกัส ความสับสนระหว่างวงแหวนซูมกับวงแหวนโฟกัสสามารถทำลายภาพถ่ายของคุณได้โดยง่าย
- คร่อมจุดโฟกัส
ลองปรับเปลี่ยนจุดโฟกัสมายังด้านหน้าและด้านหลังของจุดโฟกัสเวลาที่คุณต้องถ่ายภาพที่จำเป็นต้องใช้ระยะชัดลึกมาก ลองถ่ายภาพหลักเก็บเอาไว้สักสองสามภาพ จากนั้นถ่ายภาพเพิ่มโดยใช้จุดโฟกัสที่แตกต่างกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
ลองปรับเปลี่ยนจุดโฟกัสมายังด้านหน้าและด้านหลังของจุดโฟกัสเวลาที่คุณต้องถ่ายภาพที่จำเป็นต้องใช้ระยะชัดลึกมาก ลองถ่ายภาพหลักเก็บเอาไว้สักสองสามภาพ จากนั้นถ่ายภาพเพิ่มโดยใช้จุดโฟกัสที่แตกต่างกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก http://www.dcmthailand.com