ss

25 ตุลาคม 2553

มาสนุกกับการถ่ายภาพ Panorama [เทคนิคการถ่ายภาพ]

มาสนุกกับเทคนิคการถ่ายภาพ Panorama
[เทคนิคการถ่ายภาพ]



        การถ่ายภาพ Panorama ควรใช้โปรแกรม Panorama assist ที่สามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายและหันกล้องเพื่อถ่ายภาพต่อไป จากทางขวาไปทางซ้าย หรือจากทางซ้ายมาทางขวา (ปกติจะถ่ายจากขวาไปซ้าย) หรือจากบนลงมาข้างล่าง หรือจากล่างขึ้นข้างบนก็ได้ โดยกดแป้น Multiselector (แป้นบังคับทิศทาง 4 ทิศ) และดูรูปสามเหลี่ยมว่าชี้ไปทางไหน แต่ต้องใช้ขาตั้งกล้องเสมอ เพื่อการช่วยในการรักษาระดับของการแพนกล้องจะทำให้ได้รับความสะดวก และแน่นอนมากขึ้น

          เมื่อใช้โหมดนี้ และเลือกถ่ายจากทางขวาไปทางซ้าย หลังจากเริ่มถ่ายภาพแรกแล้ว กล้องจะล็อคค่าแสงและโฟกัสไว้ เพื่อการถ่ายภาพต่อไปจะได้ความสว่างคงที่ เวลานำภาพไปต่อกันจะได้สีและแสงที่เท่ากันทั้งหมด
         *TIP* ก่อนถ่ายภาพควรปรับระยะซูมเลนส์ไว้ในช่วงกลางๆ และถ่ายภาพเพื่อนำไปต่อกันไม่เกิน 16 ภาพต่อชุด การถ่ายควรถ่ายติดต่อกันไปจนครบ เพราะถ้าเว้นช่วงเวลานานเกินไป ระบบวัดแสงของกล้องดับไป(เพราะถึวเวลาที่ตั้งให้กล้องปิดเองอัตโนมัติ) และที่สำคัญคือสภาพแสงของบริเวณที่ถ่ายอาจเปลี่ยนแปลงได้
           สำหรับกรณีที่ในตัวกล้องไม่มีโปรแกรม Panorama assist เพื่อการถ่ายภาพพาโนรามา การถ่ายภาพในลักษณะดังกล่าวก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้วิธีการจดจำหรือความเป็นคนช่างสังเกตเล็กน้อย โดยไม่ว่าจะเป็นการถ่ายจากขวาเลื่อนไปทางซ้าย หรือกลับกัน ก็จะต้องถ่ายภาพโดยจะต้องมีส่วนที่เป็นส่วนของภาพเดิม ประมาณ 15-20% เพื่อใช้เป็นส่วนที่ใช้ในการภาพ ในขั้นต่อไป
          *Tip* ต้องใช้ขาตั้งกล้องเสมอ และใช้ระบบล็อคค่าแสงไว้ และเมื่อถ่ายภาพแล้วก็หันกล้องโดยปรับให้ภาพมีการเหลื่อมกันประมาณ หนึ่งในสามของภาพ หรือเกือบครึ่งภาพก็ได้ การเลือกใช้เลนส์ ควรเป็นเลนส์ขนาดมาตรฐาน คือความยาวโฟกัสประมาณ 50 mm แต่ถ้าเป็นเลนส์ซูม ก็ควรปรับไว้ประมาณนี้ เพราะเป็นเลนส์ช่วงที่มีการบิดเบี้ยวของภาพน้อย (เวลาต่อภาพจะต่อได้ง่าย และสวยงาม)
เสร็จแล้วนำภาพชุดดังกล่าวไปต่อให้เป็นภาพเดียวกันโดยใช้โปรแกรม Panorama Maker ที่มีแถมให้ในชุด CD-ROM ที่มาพร้อมกล้อง Coolpix ทุกรุ่น แต่จะไม่มีในกล้อง D-SLR [เทคนิคการถ่ายภาพ]


การใช้งานโปรแกรม Panorama maker
          ปกติโปรแกรมนี้จะมาพร้อมกับโปรแกรม Nikon View หรือ PictureProject เมื่อลงโปรแกรมแล้ว จะมีโปรแกรม Panorama Maker ลงในคอมพิวเตอร์ด้วย เวลาจะใช้ต้องเปิดโปรแกรม Panorama Maker ขึ้นมาก่อน จะมีหน้าต่าง Panorama Maker 3
- ให้คลิกปุ่ม "Start" จะมีหน้าต่างทำงาน ให้เลือกว่าลักษณะของภาพที่จะต่อเป็นการต่อแบบใด เช่นต่อแนวนอน (Horiz), แนวตั้ง (Vert), ต่อเป็นวงกลม (360o) หรือเทียบภาพ (Tile)
- เลือกชนิดของเลนส์ที่ใช้ "Camera Lens" แต่ถ้าไม่ทราบก็ให้เลือกแบบ Automatic ต่ำลงมามีช่องเพื่อเลือกขนาดภาพ เช่น Medium (For display), Original (For print) และ Small (For web) ให้เลือกเป็น Original สำหรับจะนำไปอัดขยายภาพ เสร็จแล้วคลิกที่ Next
- ตอนมุมล่างขวาจะมีหน้าต่างทำงานใหม่ขึ้นมา คลิกที่ปุ่ม Add จะมีหน้าต่างให้เลือกภาพจากโฟลเดอร์ที่ต้องการ(แนะนำให้กำหนดเป็นโฟลเดอร์ใหม่) และไปเลือกรูปที่จะนำมาต่อทั้งหมด(แต่ต่องไม่เกิน 16 ภาพ)
- *TIP* เพื่อความสะดวกควรโหลดภาพที่ต้องการต่อไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนจะสะดวกที่สุด
คลิกที่ Open ภาพจะมาปรากฏในช่องตอนบน ถ้าภาพเรียงตามลำดับถูกต้อง ก็คลิกที่ปุ่ม Include All หรือจะเลือกภาพแล้วคลิกที่ปุ่ม Include ย้ายทีละภาพก็ได้
- เมื่อครบแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Next โปรแกรมจะต่อภาพให้จนเสร็จ ถ้ามีช่วงไหนยังต่อไม่เรียบร้อย ให้คลิกที่เครื่องมือ Fine Tune (รูปไขควง) แล้วเลื่อมเม้าส์ไปคลิกที่ช่วงที่ต่อไม่สนิท จะมีรูป 2 รูปขึ้นมาเทียบให้ ก็เลือกปุ่มสำหรับชี้ หมายเลข 1, 2, 3 ให้ชี้ที่จุดเดียวกันในแต่ละภาพ ควรชี้จุดที่ห่างออกไปในแนวนอน เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Ok โปรแกรมจะแก้ไขให้ใหม่ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็คลิกที่ Finish และคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อ Save ภาพไว้ในโฟลเดอร์ตามต้องการ เหมือนการ Save ภาพตามปกติ [เทคนิคการถ่ายภาพ]

ที่มา : http://hitech.sanook.com/digital/nikontips_06563.php
เมื่อถ่ายภาพแรกเสร็จแล้ว ในจอภาพจะเห็นภาพเดิมทางด้านขวาประมาณ 1/3 ของภาพ (ลักษณะเป็นเงา อยู่ในจอภาพทางซ้าย เพื่อเวลาแพน(หัน)กล้อง ก็ควรให้ภาพเดิมทับภาพใหม่ในจอ จะได้รู้ว่าจะต้องหันไปประมาณเท่าใด และถ่ายภาพต่อๆ จนครบตามที่ต้องการ เมื่อถ่ายภาพชุดแรกครบตามต้องการแล้ว ให้กดปุ่ม OK หรือ Enter กล้องจะเลิกการล็อคค่าแสง เมื่อถ่ายชุดใหม่ก็จะเก็บภาพไว้ในโฟลเดอร์ใหม่ และเริ่มล็อคค่าแสงใหม่ [เทคนิคการถ่ายภาพ]

บทความกล้องดิจิตอลยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง