ss

18 กรกฎาคม 2555

ถ่ายภาพด้วยระบบแมนนวล

ถ่ายภาพด้วยระบบแมนนวลแสนสนุก

กล้อง DSLR เกือบทุกตัวในปัจจุบันจะมีระบบมากมายให้เลือกใช้เพิ่มเติมจากกล้องฟิล์มก็ ระบบWBซึ่งในกล้องฟิล์มจะต้องใช้ฟิลเตอร์แก้กันตามชนิดของแสง ระบบวัดแสงที่มีในกล้องดิจิตอลก็มีให้เลือกวัดได้หลายแบบ มีถ่ายวิดีโอได้ด้วย การเลือกตั้งค่าความไวแสง ASA ได้ตามใจชอบ ในขณะที่กล้องฟิล์มจะต้องพกฟิล์มหลายๆขนาด AS ตามสภาพแสงที่ต้องการถ่าย ฯ

          ยังมีอีกเยอะที่เป็นข้อได้เปรียบของกล้องดิจิตอลยิ่งรุ่นใหม่ความสามารถก็ ยิ่งมีมากเป็นการพัฒนาเพื่อไล่รุ่นเก่าออกจากตลาดเป็นทั้งการพัฒนาการทางเท คโนโลยี่และผลทางการค้าควบคู่กันไป ซึ่งก็เป็นผลดีแก่คนใช้ที่ได้ของที่มีประโยชน์ใช้สอยสูงในราคาที่จูงใจ ในที่นี้เราจะไม่สนใจส่วนที่ให้มามากมายเกินกว่าการถ่ายภาพโดยใช้ความรู้การ ถ่ายภาพด้วยความสามารถจากคนเป็นผู้กำหนดขนาดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ ส่วนกล้องทำหน้าที่บันทึกภาพไปเหมือนกับกล้องฟิล์มที่เคยปฎิบัติกัน เป็นความสนุกที่ได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพมาใช้งานและสามารถเห็นผล ได้จากการตรวจภาพจากreviewเป็นตัวเช็ค ความรู้ในการถ่ายหลักๆที่ต้องการใช้ก็คือเรื่องขนาดของแสงกับขนาดของรูรับ แสงร่วมกับความไวแสงของตัวรับแสง ซึ่งมักเป็ปัญหากับมือใหม่หรือผู้ที่ชอบถ่ายภาพแบบระบบอัตโนมัติ แล้วการกำหนดขนาดรูหน้ากล้องกับขนาดความเร็วจะรู้ได้อย่างไรหลายคนคงอยากจะรู้ ที่จริงแล้วผู้ผลิตสินค้ามักต้องการให้ใช้สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สุดเพื่อความพอใจสุด ๆ เช่นกัน

           กล่องฟิล์มที่บรรจุฟิล์มจึงมักพิมพ์ค่าการตั้ง ล้องไว้เสมอ ซึ่งเป็นค่าอ้างอิงซึ่งเราอาจอาจดัดแปลงไปใช้ค่าอื่นๆที่ให้ผลเมื่อถ่ายภาพ แล้วจะไม่อันเดอร์หรือโอเวอร์เกินไป พูดไปอาจจะงงขอยกตัวอย่างกล่องฟิล์ม ASA100 ที่ท้องฟ้าแจ่มใสไร้เมฆ กำหนดให้ใช้ F=8 ,speed=1/250 (ดูจากข้อเขียนหัวข้อsunny 16) เราต้องการถ่ายคนซึ่งต้องการความชัดที่ตัวแบบเท่านั้น หากใช้ตามคำแนะนำความชัดของวัตถุด้นหลังภาพที่ไม่ต้องการก็จะติดมาเป็นการ แย่งความสนใจของภาพทำให้แบบไม่เด่น ก็ต้องใช้ F ให้ต่ำลงเช่น F4 หรือ F2.8 เพื่อลดความชัดหรือละลายฉากหลังเพื่อเน้น แบบให้เด่นขึ้น(ซึ่งยังมีวิธีการอีกมากนอกจากวิธีดังกล่าว)สมมุติว่าใช้ F2.8 แล้วความเร็วชัตเตอร์จะเท่าไร ลองไล่ว่าจาก 2.8 , 4 , 5.6 , 8 จะห่างกัน 3 stop 

ฉะนั้นเมื่อเพิ่มความกว้างของรูหน้ากล้องก็ต้องเพิ่มความเร็วลง 3 stop เช่นกันคือ 1/250 , 1/500 , 1/1000 ,1/2000 นั่นคือความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้คือ 1/2000 นั่นคือรูหน้ากล้องและความเร็วชัตเตอร์คู่ใหม่คือ F2.8 กับ speed=1/2000 และความเร็วชัตเตอร์สูงๆยังสามารถหยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วๆได้ดีด้วย เช่นรถยนต์วิ่ง ม้าแข่ง นักบาสเก็ตบอล ฟุตบอลฯ ทีนี้มาดูว่าถ้าเราต้องการถ่ายวิวที่ต้องการความคมชัดมากก็ต้องใช้ F สูงๆ เช่น F16 หรือ F22 สมมุติว่าใช้ F22 จะใช้ speed เท่าไรมาลองไล่ดู F8 , F11 , F16 , F22 จะพบว่ารูหน้ากล้องแคบลง 3 stop เราก็ต้องลดความเร็วลง 3 stop เช่นกัน 1/250 , 1/125 , 1/60 , 1/30 นั่นคือต้องใช้ speed=1/30 ฉะนั้นคู่สัมพันธ์ใหม่คือ F22 และ speed=1/30

          นี่เป็นตัวอย่างเล็กน้อยที่เป็นพื้นฐานในการถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ รับแสงขนาดพอดี ส่วนเรื่องถ่ายภาพอย่างไรให้สวยงาม บางครั้งเป็นเรื่องความชอบส่วนตัว แต่ที่หนีไม่พ้นก็หลักการทางศิลป์ที่ว่าด้วย หลักการของสี หลักของมิติของภาพ ฯ นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อหลุดพ้นจาก กฎเกณฑ์เก่า ๆ ซึ่งอาจซ้ำซากจำเจสำหรับบางคนและต้องแสวงหาอะไรที่แปลกใหม่ เพื่อการพัฒนาซึ่งอาจเป็นที่ยอมรับหรืออาจไม่มีใครยอมรับก็ได้ ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ๆ จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

บทความกล้องดิจิตอลยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง