ข้อคิดก่อนถ่ายภาพ : มิติของแสง | |
"มิติของแสง" เรื่องสำคัญในภาพถ่ายที่หลายๆ คนยังเดินทางไปไม่ถึง เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ภาพถ่ายแบบสองมิติถ่ายทอดรูปทรงของวัตถุตัวแบบในภาพได้อย่างน่าสนใจ "แสง"...สำหรับมือใหม่แล้ว มันจะมีหน้าที่แค่ว่าสว่างหรือไม่สว่างเท่านั้น แต่สำหรับมืออาชีพแล้ว มันคือสิ่งที่จะช่วยขับเน้นให้วัตถุในภาพถ่ายให้ดูเป็นรูปทรงและมีมิติมากขึ้น โดยปกติธรรมชาติของมนุษย์แล้ว จะมองสิ่งต่างๆ ด้วยดวงตาทั้งสองข้างก่อนที่จะซ้อนทับกันเป็นมิติและรูปทรงด้วยการคำนวณของสมอง ซึ่งมิติที่เรามองเห็นกันจะหมายถึงการที่เราสามารถรับรู้ถึงระยะกว้าง ยาว ลึก สูง ของสิ่งที่เรามองเห็นได้ คุณสามารถทดลองได้ทันทีโดยการปิดตาลงข้างหนึ่ง ซึ่งจะเห็นความแตกต่างในเรื่องมิติของรูปทรงที่มีผลต่อการมองเห็นในทันที และการมองด้วยตาทั้งสองข้างที่ทำให้เกิดมิตินี้เรียกว่า Stereoscopic ตอบสนองความรู้สึกแบบ 3 มิติ คือ ทางด้านกว้าง ยาว ลึก หรือ XYZ สรุปแล้ว การมองด้วยตาทั้งสองข้างจะทำให้เรารู้สึกได้ถึงความกว้าง ยาว ลึก ฯลฯ หรือที่เรียกว่า "มิติ" ได้นั้นเอง ภาพถ่าย คือการบันทึกภาพสิ่งที่เรามองอย่าง 3 มิติ ด้วยตาทั้งคู่ (ที่เราเห็นเป็นเรื่องธรรมดา) ลงไปในสิ่งที่เป็น 2 มิติ ซึ่งมีเฉพาะด้านกว้างและยาวเท่านั้น (เช่น บนจอคอมพิวเตอร์ หรือบนกระดาษอัดภาพ) ไม่สามารถแสดงมิติที่ 3 หรือความลึกได้ ซึ่งทำให้การมองเห็นภาพของสายตาเปลี่ยนไป โดยความรู้สึกแล้วก็คือผิดธรรมชาตินั้นเอง (เปรียบเสมือนมองโลกโดยปิดตาลงข้างหนึ่ง) ในการถ่ายภาพจึงได้มีการคิดค้นเทคนิคและวิธีการบันทึกภาพโดยใช้เรื่องของความรู้สึกให้เกิดมิติเข้าช่วย เช่น การใช้เส้นนำสายตา, มีการวางวัตถุต่างขนาดกันเพื่อให้เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบ, การใช้มุมและระยะของเลนส์เพื่อสร้างความลึก ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ "การใช้มิติทางแสง" เข้าช่วย นอกจากแสงจะทำให้ภาพสว่างและสร้างอารมณ์ของภาพ เช่น อบอุ่น ร้อนแรง นุ่ม แข็ง ฯลฯ แล้ว หน้าที่แฝงของมันที่เราลืมนึกไปก็คือ การทำให้เกิด "เงา" ขึ้นมา ซึ่งเงานี่เองที่จะเป็นตัวช่วยสร้างมิติให้กับรูปทรงในการถ่ายภาพได้มากที่สุด และแทบจะพูดได้เลยว่า"สิ่งที่พอจะชดเชยการมองแบบ 3 มิติได้ก็คือเงา หรือมิติของแสงนี้เอง" "เงา" คือสิ่งที่ทำให้รูปร่างหรือวัตถุดูมีมิติมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มันก็อาจจะกลายเป็นอุปสรรคสำหรับภาพถ่ายบางประเภทด้วย ซึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้และควบคุมมันให้ได้ เราจะเห็นเรื่องราวเหล่านี้ได้จาการจัดแสงไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ของช่างภาพมืออาชีพ แสงไฟที่ได้รับการจัดมุมในทิศทางที่ต่างกันนั้น เราอาจจะเคยเข้าใจว่าเขาทำเพียงเพื่อให้เกิดสว่างขึ้นเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วหนึ่งในวัตถุประสงค์ก็คือการควบคุมและนำ "เงา" มาใช้ในงานถ่ายภาพโดยเฉพาะ ลองหาภาพถ่ายที่เป็นผลงานของมืออาชีพที่เน้นเรื่องนี้โดยเฉพาะมาดูเป็นตัวอย่าง และสังเกตดูได้เลยว่า "เงา" ในภาพเป็นอย่างไร? แสงในภาพเป็นอย่างไร? จากนั้นจินตนาการว่าถ้าวัตถุในภาพมีแต่แสงสว่างแต่ไม่มีเงาเลยมันจะเป็นอย่างไร? ศัพท์แสงในวงการถ่ายภาพเขาจะเรียกแสงและเงาที่ไม่มีความชัดเจนเพียงพอจนทำให้เกิดรูปทรงขึ้นมาได้ว่า "แสงแบน" นั่นเอง หลายๆ คนที่เปิดภาพขึ้นมาดูและรู้สึกว่ามันเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างอย่าง (แต่บอกไม่ได้) บางทีเขาอาจจะหลงทางในเรื่องของคำว่า"ลบเงา" โดยเฉพาะในภาพบุคคลที่มีการใช้อุปกรณ์หลายๆ ชนิดส่งแสงไปยังตัวแบบเพื่อให้เงาหายไป ตัวแบบจะได้สว่างใสเคลียร์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การลบเงาออกมากเกินไปก็จะทำให้วัตถุขาดมิติทางด้านรูปทรง และภาพที่สว่างใสเคลียร์เกินไปนั้น ก็เลยกลายเป็นภาพที่ "แสงแบน" ไปในที่สุด ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการทำภาพแบบ HDR (High Dynamic Range) ที่มักจะพยายามเปิดเงาออกไปให้ได้มากที่สุด นั่นหมายความว่าหากเงาถูกเปิดมากเกินไป มิติในภาพก็จะน้อยลงด้วยโดยปริยาย ที่ถูกต้องก็คือ การลบเงาที่ไม่ใช่ลบจนหมดสิ้น ต้องยังมีอยู่ในปริมาณที่กำลังดี คือทำให้ตัววัตถุดูมีมิติแต่ต้องไม่มากจนทำให้ภาพดูแข็งกระด้าง เรื่องนี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องอาศัยการสังเกตและการฝึกฝนให้ชำนาญเท่านั้น ไม่มีสูตรตายตัว สังเกตุดูภาพยนตร์จากฮอลลิวูดก็ได้ เขาจะไม่มีการสว่างใสเคลียร์ล้วนแต่จะอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะพอเจาะจริงๆ ใสเคลียร์ล้วนๆ จะมีอยู่ในฉากพวกเทวดาหรือฉากที่กำลังฝัน นอกนั้นเป็นแสงชนิดที่ปรากฎเงาอยู่ทั้งสิ้นแต่ดูดี หรือใครที่ไม่ชอบแสงแข็งกระด้างเลย ลองสังเกตดูภาพจากโฆษณาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทะเลดู นางแบบก็มีเงาแข็งๆ แต่ทำไมถึงดูดี นี่แหละอิทธิพลของแสงอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจ (แต่หลายคนมองไม่เห็น) ที่มา: www. tsdmag.com |
28 กุมภาพันธ์ 2555
Home »
เทคนิคถ่ายภาพ
» ข้อคิดก่อนถ่ายภาพ : มิติของแสง
ข้อคิดก่อนถ่ายภาพ : มิติของแสง
เขียนโดย
Admin
Related Posts
บทความกล้องดิจิตอลยอดนิยม
-
Nikon D3100 กล้องดิจิตอล SLR รุ่นเล็กสุดจากนิคอน เต็มไปด้วยความสามารถที่โดดเด่นมากมายเกินตัว และเพิ่งได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม iF ...
-
แนะนำกล้องใหม่ 4 กล้องกันน้ำรับสงกรานต์ ในเดือนเมษายน นี้เริ่มเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์กันอีกแล้ว สำหรับท่านที่ต้องการจะหาซื้อกล้องถ่ายภาพกั...
-
“แคนนอน EOS 600D กล้องดิจิตอล SLR รุ่นใหม่ล่าสุด สานต่อความสำเร็จจากรุ่น EOS 550D ที่มียอดขายสูงมากในรอบปีที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งใน กล้องดิ...
-
เทคนิคการถ่ายภาพ: 7 เทคนิคควรรู้ไว้ ก่อนไปถ่ายงานปริญญา 1. หน้าชัดหลังเบลอง่าย ๆ แต่ได้ผล เทคนิคการถ่ายภาพ ด้วยรูรับแสงกว้าง ๆ เพื...
-
จากคำถามของเพื่อนสมาชิกว่า การวัดแสงและล็อกแสง (AE lock) ต่างกันอย่างไร ผมจึงไขข้อข้องใจให้คร่าว ๆ ดังนี้ครับ การวัดแสง.. เป็นกระบ...
-
สวัสดีเช่นเคยครับ. . วันนี้ผมมีกล้อง DSLR จำนวน 4 รุ่น มาแนะนำสำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่ ที่เริ่มจะเอาจริงเอาจังกับการถ่ายภาพแบบมีคุณภาพ หรื...
-
EOS 1100D ใช้ระบบวัดแสงใหม่แบบ iFCL ซึ่งระบบวัดแสงแบบนี้ใช้ครั้งแรกกับกล้อง EOS 7D แบ่งพื้นที่การวัดแสงเป็น 63 ส่วน วัดแสงโดยอ้างอิงค่าของ...