ss

8 ธันวาคม 2553

วิธีเลือกซื้อเลนส์มือสอง

วิธีดูเลนส์มือสอง 

ตอนนี้กล้องดิจิตอล SLR เริ่มมีราคาถูกลง
และกล้อง SLR ฟิลม์ ก็ลดราคาลงมากเช่นกัน
ดังนั้น เลนส์มือสองในตลาด ก็เริ่มมีการหมุนเวียนจำหน่ายมากขึ้น
ทำให้น่าลองจับซื้อหามาใช้กันครับ

แต่ก่อนจะออกไปซื้อ ขออนุญาตเรียนแนะนำ
วิธีการเลือกดูกันเล็กน้อยครับ


หลังจากไปเดินดูตามร้าน
หรือ นัดดูเลนส์ตัวที่ถูกใจที่ประกาศขายตามเวปบอร์ดต่างๆแล้ว
การดูเลนส์ควรจะทำในที่ๆมีแสงสว่างๆมากๆ ครับ
จะได้เห็นตำหนิกันชัดๆ

สิ่งแรกที่ดูก็คือผิวเลนส์
เลนสที่มีร่องรอยบน ผิวหน้าแบบนี้ทั้ง ชิ้นหน้า-ชิ้นหลัง
หากเห็นเส้นใยๆนวลขาวแบบนี้ก็เก็บได้เลยครับ
เก็บเลนส์คืนเจ้าของ เก็บตังค์เราไว้ในกระเป๋าครับ



ยกเลนส์ขึ้นมาเล็งให้กับแสงไฟหรือหลอดไฟที่สว่างๆ
แล้วก็ส่อง-หมุน- ส่อง-หมุน-ส่อง-หมุนกระบอกเลนส์ไปรอบๆ
กวาดสายตาดูในกระบอกเรือนเลนส์จากด้านนอกขอบเลนส์ ไปตรงกลางด้านในใจกลางเลนส์
ควรจะหมุนไปรอบๆเพราะเชื้อราจะเริ่มขึ้นจากขอบๆรอบนอกเลนส์ แล้วลามเข้าไปด้านในกลางผิวเลนส์ครับ
ต่างกับฝ้าที่มักจะเกิดตามขอบแล้วลามไปตามขอบจนรอบเลนส์ แล้วจึงเข้าหาตรงกลางเลนส์ครับ
ฝ้ายังพอจัดการแก้ไขได้ แต่เชื้อราจะจัดการล้างยากเพราะต้องลอกโค้ทติ้งเคลือบผิวหน้าเลนส์ทิ้งอย่างเดียวครับ

เลนส์ที่มีเชื้อราบนผิวเลนส์ ซึ่งเกิดจากความชื้นเในเลนส์จะมีลักษณะแบบนี้ครับ



เลนส์ด้านหน้าหลังอาจจะดูสวย แต่อย่าไว้ใจใครครับ

ยังมีเชื้อราบนผิวเลนส์ ภายในเลนส์อีกครับ

เวลาส่องกับแสงสว่าง หรือ ใช้ไฟฉายเล็กๆส่องกวาดดู
จะมีลักษณะแบบนี้ครับ



ตอนนี้ก็หันมาดูหน้าตาหรือโค้ทติ้งกันบ้าง
วิธีดูก็ให้ตั้งเลนส์ตรงๆกับที่สว่างๆ แล้วเอียงเส้นสายตาให้ทำมุมประมาณ 45 องศาเฉียงกับหน้า
ดูแสงสะท้อนที่ออกมาจากผิวเลนส์
ดูว่าเฉด หรือ เหลือบสี ทั่วทั้งผิวหน้าเลนส์
สะท้อน ออกมาสม่ำเสมอ ดีหรือไม่ ครับ



สังเกตุดูแสงสะท้อนที่ออกมาจากผิวเลนส์
พร้อมกับหมุนตัวเลนส์ไปช้าๆ
หมุนซ้า่ยก็ได้ หมุนขวาก็ดีครับ
สังเกตที่ตัวหนังสือที่จำหลักไว้ที่ขอบเลนส์น่ะครับ

เลนส์ที่โค้ทติ้งดี สวยๆ
ไม่ว่าจะหมุนอย่างไร แสงและสีที่สะท้อนออกมาจากผิวเลนส์จะต้อง ให้เหลือบสีเหมือนกันเสมอครับ

ในภาพสังเกตตำแหน่งตัวหนังสือที่ขอบเลนส์ และสีของแสงที่สะท้อนออกมาน่ะครับ



หากส่องข้างในรอบๆแล้วผิวเลนส์ดูสุกใสก็ดูรอบๆตรงท้ายเลนส์ครับ
เลนส์ที่ดีสภาพสวยๆก็ควรมีเขี้ยวล้อคสวยๆด้วยครับ
เพราะหากเขี้ยวล้อคเลนส์หลวมคลอน ก็จะยึดกับกล้องได้ไม่แน่น
ดังนั้นให้หาหรือเอากล้องที่ใช้ด้วยไปลองด้วยครับ ว่าใส่แล้วแนบสนิทกับบอร์ดี้ดี
ช่องว่างเสมอหน้าแปลนกล้องไม่เบี้ยว ไม่ขยับได้ครับ

เลนส์ผ่านการใช้งานมาสมควร สีดำเคลือบหลุดลอกออกไปบ้าง
แต่เลนส์ใช้งานมาบ้าง มักจะดีกว่าเลนส์เก็บไม่ค่อยใช้งานครับ



ตอนนี้ก็มาลองดูแมคคานิคกลไกของเลนส์
หากเป็นเลนส์ nikon รุ่นที่ยังมีแหวนปรับรูหน้ากล้องอยู่ท้ายเลนส์ก็ตรวจดูตรงจุดเหล่านี้น่ะครับ
1. สวิชท์ L สำหรับล้อคค่ารูหน้ากล้องที่แคบที่สุด ทำงานได้คล่องไม่ติดขัด
2. สวิชท์ L สำหรับล้อคค่ารูหน้ากล้องที่แคบที่สุด จะทำงานได้ก็ต้องเมื่อเปิดรูหน้ากล้องที่แคบที่สุดของเลนส์เท่านั้น จะใช้กับค่ารูหน้ากล้องอื่นไม่ได้ครับ
3. หรี่รูหน้ากล้องแคบสุดแล้ว สวิชท์ L จะไม่ขยับอีก



4. ส่องดูในเลนส์ว่ารูหน้ากล้องปิดแคบสุดจริง (แต่รูจะต้องไม่ปิดสนิท ต้องเหลือนิดหน่อย)
5. ดูกลีบใบจักรปิดรูหน้ากล้องว่าสะอาดไม่มีคราบสนิมหรือ น้ำมันจับหรือรอยขีดข่วน
6. ลองปลดล้อค สวิชท์ L แล้วค่อยๆหมุนแหวนเปิดรูหน้ากล้องที่ละคลิกสต้อป แต่ละสต้อปต้องหยุดแบบนิ่งกึก ไม่คลอนแคลน
7. ส่องดูในเลนส์ทีละสต้อปว่า รูหน้ากล้องที่ค่อยๆเปิดได้สมมาตรสม่ำเสมอเป็นวงสวยไม่มีติดเป็นขยัก
8. ทำแบบเดียวกันนี้ ซัก 2 ครั้ง ครับ



9. เอาเลนส์ใส่กล้องที่มีระบบช่วยถ่ายภาพ
ปรับไปที่โหมด S ตั้งความเร็วตั้ง 1/2 วินาทีจนถึง 1/15 วินาที แล้วกดชัตเตอร์ แล้วตรวจดูขนาดรูหน้ากล้อง
รูหน้ากล้องควรจะปิดเปิดไม่เท่ากันในแต่ละความเร็วครับ

10. หากเป็นกล้องเก่าๆ FM, FE ไม่มีโหมด S ก็ใช้ปุ่มเช็คระยะชัดลึกในกล้องหรือ โหมด A แทนก็ได้ครับ
คือเมื่อกด แล้ว แสงหรือภาพที่เห็นในช่องมองภาพควรจะมืดหรือสว่างตามลักษณะรูหน้ากล้องที่ตั้งเอาไว้ครับ



ตรวจดูกลไกว่าทำงานได้เรียบร้อย ก็มาตรวจดูเลนส์ว่าเคยโดนถอดมาหรือไม่

วิธีตรวจดูก็เอานิ้วลูบที่หัวสกรูกากบาทท้ายเลนส์ครับ
เลนส์ซิงๆ ควรจะราบเรียบไม่สะดุดระคายนิ้ว
หัวสะอาด ความลึกฝังจมลงไปเท่าๆกันทุกหัว

หากไม่ได้เอาหลูป loupe ไปส่องก็เอา เลนส์ที่มีในร้าน หรือ ใกล้ๆมือ กลับเลนส์ ส่องดูไปพลางๆก่อนก็ได้ครับ



จากนั้นก็ตรวจดูสภาพภายนอกอื่นๆเช่น
1. ร่องเกลียวฟิลเตอร์หน้าเลนส์ว่ายังใช้ได้ เกลียวไม่หวานรูด จนใส่ฟิลเตอร์ไม่ได้
2. ตัวหนังสือ เครื่องหมายต่างๆไม่เลอะเลือน
3. เขย่าเลนส์แล้ว ไม่มีเสียงดังกุกกักอยู่ข้างใน
4. ลองปรับโฟกัสแล้ว สเกลบอกระยะทางตรงกันกับที่เขียนบอกไว้ข้างกระบอกเลนส์
5. หากมีคอลล่าร์ รูเกลียวใส่ขาตั้งใต้คอลล่าร์เกลียวสะอาดไม่หวานรูด
6. หากคอลล่าร์มีน้อตปรับตำแหน่งกล้องเป็นแนวตั้งได้ น้อตยึดก็สามารถจับกระบอกเลนส์ได้แน่ ไม่หวานรูดครับ
7. แหวนปรับซูม/โฟกัสหมุนได้คล่อง ไม่สะดุดหมุนเกินจนเลยสุดระยะโฟกัสไปมากนัก
8. แหวนซูมและแหวนโฟกัสไม่เลื่อนหน้าถอยหลัง (ยกเว้นเลนส์ซูฒแบบแหวนเดี่ยว)
9. ขอบยางต่างๆ ตะเข็บไม่ปริแตก หรือ ลอก และลายพิมพ์บนยางยังมีสันคมอยู่ครับ
10. สีเลือนลางไปตามการใช้งานได้ครับ แต่ไม่ควรมีรอยบุบ หรือ ถลอกครับ



ประการสุดท้าย ตรวจดูว่าเลนส์ที่จะซื้อมีอะไรมาให้บ้าง เช่น คู่มือ, ฝาปิดหน้า, ฝาปิดหลัง, กล่องใส่เลนส์ เป็นอย่างน้อย

เลนส์บางรุ่นจะมีของแถมมาให้ในกล่องครบชุดให้ด้วยเช่น ฮูดกระบังแสง, กระเป๋าใส่เลนส์, หรือแม้แต่ฟิลเตอร์ ครับ

วิธีตรวจสอบที่ดีที่สุดก่อนจะนัดดูเลนส์มือสองก็คือไปที่ร้านขายกล้อง/เลนส์แล้วขอดูเลนส์ อันใหม่ รุ่นเดียวกันกับที่จะซื้อมือสองที่หมายตาไว้ครับ

พอได้ลองจับของใหม่แล้วก็จะทราบได้เองว่า ของมือสองที่ตั้งใจจะซื้อนั้นควรมีหน้าตาอย่างไร
ทำงานได้แบบไหน ในกล่องมีอะไรมาให้บ้างครับ


ที่มา http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/O3032667/O3032667.html

บทความกล้องดิจิตอลยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง