เทคนิคการถ่ายภาพ : สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการถ่ายวิวทิวทัศน์
1. สถานที่ควรรู้จักและศึกษาก่อนจะเดินทางก่อนจะไปที่ไหนควรศึกษาไว้ก่อนก็ดีนะครับ เพราะถ้าเราไปโดยไม่รู้จักอาจจะไม่เป็นการดีนัก สิ่งต่อมาคือเมื่อไปถึงเราควรสำรวจดูทิศทางของดวงอาทิตย์ก่อนจะถ่าย เพื่อจะนำมาพิจารณาในการหาทิศทางของแสงที่ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ภาพวิวทิวทัศน์สวยๆ มักเน้นมุมย้อนแสง เช้าเย็น แต่ก็ไม่เสมอไปนัก เพราะอาจจะเป็นการดี ถ้าได้แสงข้างในวิวบางประเภท ในที่นี้ควรรู้เรื่องมุม CPL ด้วย คือการยืนหันข้างลำตัวให้ดวงอาทิตย์จะได้ฟ้าสีน้ำเงินเข้ม [เทคนิคการถ่ายภาพ]
2. เวลา การเลือกเวลาในการบันทึกภาพที่เหมาะสม มันคงจะดีกว่าถ่ายมาแล้วได้แสงประหลาดๆ และไม่ได้ช่วยให้ภาพดูดีขึ้นมาเลย เวลาที่ผมแนะนำคือ ควรถ่ายเน้นช่วงเช้ากับเย็นถ้าต้องการแสงสวยๆ จากดวงอาทิตย์ แสงช่วงเช้าก่อนอาทิตย์ขึ้นมันจะมีหลายๆ อย่างจากการสัมผัสของแสงและก๊าซในอากาศเป็นสีสันที่น่ามอง ก๊าซกระทบแสงมักจะมีมากๆ ในช่วงหน้าหนาว เนื่องจากมีทั้งก๊าซและละอองน้ำไอน้ำต่างๆ มากกว่าฤดูกาลปกติ หรืออีกช่วงคือเวลาหลังฝนตกขณะที่ผืนดินคายน้ำ เมื่อแสงกระทบละอองน้ำหรือเหล่าก๊าซทั้งหลายก็จะเกิดการสะท้อนของแสงเป็นสีต่างๆ จากนั้นก็พิจารณากับแสงช่วงอาทิตย์ตก ก่อนอาทิตย์ลับ และหลังลับขอบฟ้าแล้ว ส่วนแสงในตอนเที่ยงก็มีความสวย แต่แนะนำว่าควรใช้ในการถ่ายกับวิวทะเลน้ำใสๆ จะดีกว่า หรือไม่ก็บริเวณใต้ร่มพุ่มไม้ที่มีแสงลอดก็ดูดี ข้อนี้อย่าพยายามยึดติดตายตัว แต่ให้อาศัยการทำความรู้จักอันชาญฉลาด ท่านก็จะได้แสงดีดี มุมดีดีทุกช่วงเวลาเสมอ ผมแนะนำว่า ถ้าอยากก้าวหน้าจงอย่าเชื่อหลักการที่บอกว่า แสงสวยที่สุดคือตอนแดดออกกับอาทิตย์ตก ให้ท่านคิดดีกว่า ว่าสถานการณ์ไหนควรใช้แสงแบบใดดีกว่า แล้วการพัฒนามันจะข้ามขั้นไปอีกไกล
3. มุมมองดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เมื่อคำนวณกับข้อ 1 และ 2 แล้วก็มาถึงขั้นตอนการถ่าย เทคนิคที่อยากแนะนำคือ ไม่ควรยืนถ่ายแบบปกติ หรือมุมมองแบบคนปกติมอง เพราะจะทำให้ภาพจืดชืดดูไม่ค่อยน่าสนใจ ยังไงเพื่อนๆ ลองนั่ง หมอบ หรือถ่ายจากมุมสูงๆ มุมที่คิดว่ามองด้วยตาปกติไม่เห็นแล้วความแตกต่างจะตามมาครับ เพื่อนลองคิดสิ ถ้าในเฟรมเรามีดอกไม้ สวยๆ สีสดๆ ชัดอยู่ในมุมขวาหรือซ้ายล่าง ตามด้วยพื้นดินอลังการไล่ต่อไปยังผืนน้ำสะท้อนอาทิตย์ตกก่อนถึงภูเขาที่เราอยากบันทึกกับแสงสาดสวยๆ มาเทียบกับ ภูเขาทื่อๆ แสงสาดสวยๆไม่มีอะไรนอกจากนั้น แบบไหนมันจะเด่นกว่ากัน [เทคนิคการถ่ายภาพ]
4. ควรมองหาสิ่งที่ทำให้ภาพนั้นคมและชัด หรือสิ่งที่ควรโฟกัส เช่นฉากหน้าคมๆ พวกดอกไม้สีสวยๆ โขดหินก้อนงามๆ ทรายๆ เม็ดโตๆ หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนสัมผัสภาพนั้นได้ ภาพของท่านจะดูตื่นตายิ่งขึ้น **ในที่นี้เวลาผมถ่ายภาพวิวผมมักเน้นฉากหน้านะ เพื่อจะอวดความคมของภาพ ทั้งๆ ที่จริงๆ สามารถเอาจุดสนใจไว้ฉากหน้า กลาง หรือหลังก็ได้ ตามแต่สถานการณ์ แต่ส่วนใหญ่ผมมักไว้ด้านหน้า เหตุผลน่ะหรือ ก็เพียงเพื่อให้ภาพของเรามีมิติ จากการนำมาตกแต่งไล่สีในคอมพิวเตอร์ยังไงล่ะครับ
5. สีสัน ภาพวิวสวยๆ ควรเน้นให้จุดสนใจมีสีสันที่ฉูดฉาดและน่าสนใจมากกว่าจะเอาจุดเด่นสีจืดๆ ผมคิดว่างั้นนะ เพราะมันสามารถที่จะสร้างความตื่นตาหลายๆ อย่างเลย อาทิเช่น ง่ายต่อการเรียกร้องความสนใจ ง่ายต่อการไล่โทนของภาพ ถ้าไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองสังเกตสิ ดอกไม่สีแดงสด หรือในเมเปิลสีแดงสดๆ เวลาวางในเฟรมสีเขียวๆ มันเป็นยังไง [เทคนิคการถ่ายภาพ]
6. แสงเงา บางครั้งภาพธรรมดาๆ อาจจะตื่นตาได้ ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน เช่น รองเท้าผุๆ เก่าๆ ที่ไม่มีใครเห็นค่า แต่เมื่อลองนำมันมาวางไว้กลางห้องที่มืดมิด แล้วดันมีแสงลอดหลังคามาทาทาบแต่บนรองเท้าคู่นั้นดูสิ แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่ามันพิเศษแค่ไหน แฝงเทคนิคจากการสังเกตุนิดนึงนะ มันเป็นคำถามและสิ่งที่พึงสังเกตุ เวลาช่างภาพเก่งๆ ถ่ายภาพ ทำไมนะ เขาชอบให้แสงสาดจากซ้ายมาขวานะ? ลองดูดีดี ซ้ายสว่างขวามืดๆ มีเงาอยู่ขวามิใช่น้อย (บางทีสาดจากขวามาซ้ายก็ได้ แต่ส่วนมากที่เห็น ซ้ายสาดมาขวาเสียมากกว่า ยิ่งในภาพยนต์นะ ผมดูเรื่อง The Librarian สาดซ้ายมาขวาทุกช๊อต อันนี้สงสัยนะ ว่าตั้งใจหรือว่าบังเอิญ อิอิ) ผมคิดในแง่จิตวิทยาที่มันต่อเนื่องจากข้อ 9 ก็แล้วกันว่าเขาน่าจะศึกษามา ว่าคนเรามักเริ่มต้นจากซ้ายมาก่อนตลอด เลยพยายามสาดแสงจากซ้ายให้มาจบที่ด้านขวาเพื่อเป็นการดึงดูดใจบางอย่าง อันนี้เป็นทฤษฏีที่กำลังหาคำตอบ จะทำตามหรือศึกษาให้กระจ่างก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าเป็นไปได้ รู้แล้วมาบอกด้วยก็ดีนะ
7. รูปทรง บางครั้งดูเหมือนเป็นอะไรที่ยุ่งยาก แต่ถ้าอ้างเอามาจากหลักจิตวิทยาแล้วเพื่อนๆ ลองมองหาภาพสวยๆ ที่มีวัตถุวางอยู่ด้วยซักภาพนึงสิ ส่วนใหญ่มันมักไม่พ้น รูปสามเหลี่ยมใช่ไหม เพราะสามเหลี่ยมเวลามองแล้วมันน่ามอง ดูไม่แข็งทื่อ และบอบบางเกินไป ไม่เชื่อลองดูรูปที่เป็นสีเหลี่ยมสิ เขายังไม่วางให้เป็นสี่เหลี่ยมทื่อๆ ยังต้องเอียงๆ ให้ดูคล้ายสามเหลี่ยมเลย [เทคนิคการถ่ายภาพ]
8. เท่าไหร่ดี? แล้วถ้ามีคนถามล่ะว่าเราเจอวัตถุมากๆ เช่นยอดไม้ย้อนแสงหลายๆ ต้น เราควรเอามาไว้ในเฟรมเท่าไหร่ดี เพื่อนๆ จะทำยังไง อันนี้ผมก็บอกไม่ได้ เพราะผมไม่ค่อยจะเจอเหตุการณ์แบบนี้ แต่ที่เคยอ่านหนังสือมา เขาบอกว่า เราลองนับเลขดูสิ เลขอะไรสะดุดตาเราที่สุด 1-2-3 เอ๊ 4-5-6 เอ๊ะ เราคุ้นเคยกับ 555 อิอิอิ ไหม พอนับไปสามครั้งทำไมใจจะขาดทุกที นั่นแหละครับ ลองเอาเลขสามมาใช้ประโยชน์ดูนะ
2. เวลา การเลือกเวลาในการบันทึกภาพที่เหมาะสม มันคงจะดีกว่าถ่ายมาแล้วได้แสงประหลาดๆ และไม่ได้ช่วยให้ภาพดูดีขึ้นมาเลย เวลาที่ผมแนะนำคือ ควรถ่ายเน้นช่วงเช้ากับเย็นถ้าต้องการแสงสวยๆ จากดวงอาทิตย์ แสงช่วงเช้าก่อนอาทิตย์ขึ้นมันจะมีหลายๆ อย่างจากการสัมผัสของแสงและก๊าซในอากาศเป็นสีสันที่น่ามอง ก๊าซกระทบแสงมักจะมีมากๆ ในช่วงหน้าหนาว เนื่องจากมีทั้งก๊าซและละอองน้ำไอน้ำต่างๆ มากกว่าฤดูกาลปกติ หรืออีกช่วงคือเวลาหลังฝนตกขณะที่ผืนดินคายน้ำ เมื่อแสงกระทบละอองน้ำหรือเหล่าก๊าซทั้งหลายก็จะเกิดการสะท้อนของแสงเป็นสีต่างๆ จากนั้นก็พิจารณากับแสงช่วงอาทิตย์ตก ก่อนอาทิตย์ลับ และหลังลับขอบฟ้าแล้ว ส่วนแสงในตอนเที่ยงก็มีความสวย แต่แนะนำว่าควรใช้ในการถ่ายกับวิวทะเลน้ำใสๆ จะดีกว่า หรือไม่ก็บริเวณใต้ร่มพุ่มไม้ที่มีแสงลอดก็ดูดี ข้อนี้อย่าพยายามยึดติดตายตัว แต่ให้อาศัยการทำความรู้จักอันชาญฉลาด ท่านก็จะได้แสงดีดี มุมดีดีทุกช่วงเวลาเสมอ ผมแนะนำว่า ถ้าอยากก้าวหน้าจงอย่าเชื่อหลักการที่บอกว่า แสงสวยที่สุดคือตอนแดดออกกับอาทิตย์ตก ให้ท่านคิดดีกว่า ว่าสถานการณ์ไหนควรใช้แสงแบบใดดีกว่า แล้วการพัฒนามันจะข้ามขั้นไปอีกไกล
3. มุมมองดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เมื่อคำนวณกับข้อ 1 และ 2 แล้วก็มาถึงขั้นตอนการถ่าย เทคนิคที่อยากแนะนำคือ ไม่ควรยืนถ่ายแบบปกติ หรือมุมมองแบบคนปกติมอง เพราะจะทำให้ภาพจืดชืดดูไม่ค่อยน่าสนใจ ยังไงเพื่อนๆ ลองนั่ง หมอบ หรือถ่ายจากมุมสูงๆ มุมที่คิดว่ามองด้วยตาปกติไม่เห็นแล้วความแตกต่างจะตามมาครับ เพื่อนลองคิดสิ ถ้าในเฟรมเรามีดอกไม้ สวยๆ สีสดๆ ชัดอยู่ในมุมขวาหรือซ้ายล่าง ตามด้วยพื้นดินอลังการไล่ต่อไปยังผืนน้ำสะท้อนอาทิตย์ตกก่อนถึงภูเขาที่เราอยากบันทึกกับแสงสาดสวยๆ มาเทียบกับ ภูเขาทื่อๆ แสงสาดสวยๆไม่มีอะไรนอกจากนั้น แบบไหนมันจะเด่นกว่ากัน [เทคนิคการถ่ายภาพ]
4. ควรมองหาสิ่งที่ทำให้ภาพนั้นคมและชัด หรือสิ่งที่ควรโฟกัส เช่นฉากหน้าคมๆ พวกดอกไม้สีสวยๆ โขดหินก้อนงามๆ ทรายๆ เม็ดโตๆ หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้คนดูรู้สึกเหมือนสัมผัสภาพนั้นได้ ภาพของท่านจะดูตื่นตายิ่งขึ้น **ในที่นี้เวลาผมถ่ายภาพวิวผมมักเน้นฉากหน้านะ เพื่อจะอวดความคมของภาพ ทั้งๆ ที่จริงๆ สามารถเอาจุดสนใจไว้ฉากหน้า กลาง หรือหลังก็ได้ ตามแต่สถานการณ์ แต่ส่วนใหญ่ผมมักไว้ด้านหน้า เหตุผลน่ะหรือ ก็เพียงเพื่อให้ภาพของเรามีมิติ จากการนำมาตกแต่งไล่สีในคอมพิวเตอร์ยังไงล่ะครับ
5. สีสัน ภาพวิวสวยๆ ควรเน้นให้จุดสนใจมีสีสันที่ฉูดฉาดและน่าสนใจมากกว่าจะเอาจุดเด่นสีจืดๆ ผมคิดว่างั้นนะ เพราะมันสามารถที่จะสร้างความตื่นตาหลายๆ อย่างเลย อาทิเช่น ง่ายต่อการเรียกร้องความสนใจ ง่ายต่อการไล่โทนของภาพ ถ้าไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองสังเกตสิ ดอกไม่สีแดงสด หรือในเมเปิลสีแดงสดๆ เวลาวางในเฟรมสีเขียวๆ มันเป็นยังไง [เทคนิคการถ่ายภาพ]
6. แสงเงา บางครั้งภาพธรรมดาๆ อาจจะตื่นตาได้ ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์จากมัน เช่น รองเท้าผุๆ เก่าๆ ที่ไม่มีใครเห็นค่า แต่เมื่อลองนำมันมาวางไว้กลางห้องที่มืดมิด แล้วดันมีแสงลอดหลังคามาทาทาบแต่บนรองเท้าคู่นั้นดูสิ แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่ามันพิเศษแค่ไหน แฝงเทคนิคจากการสังเกตุนิดนึงนะ มันเป็นคำถามและสิ่งที่พึงสังเกตุ เวลาช่างภาพเก่งๆ ถ่ายภาพ ทำไมนะ เขาชอบให้แสงสาดจากซ้ายมาขวานะ? ลองดูดีดี ซ้ายสว่างขวามืดๆ มีเงาอยู่ขวามิใช่น้อย (บางทีสาดจากขวามาซ้ายก็ได้ แต่ส่วนมากที่เห็น ซ้ายสาดมาขวาเสียมากกว่า ยิ่งในภาพยนต์นะ ผมดูเรื่อง The Librarian สาดซ้ายมาขวาทุกช๊อต อันนี้สงสัยนะ ว่าตั้งใจหรือว่าบังเอิญ อิอิ) ผมคิดในแง่จิตวิทยาที่มันต่อเนื่องจากข้อ 9 ก็แล้วกันว่าเขาน่าจะศึกษามา ว่าคนเรามักเริ่มต้นจากซ้ายมาก่อนตลอด เลยพยายามสาดแสงจากซ้ายให้มาจบที่ด้านขวาเพื่อเป็นการดึงดูดใจบางอย่าง อันนี้เป็นทฤษฏีที่กำลังหาคำตอบ จะทำตามหรือศึกษาให้กระจ่างก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าเป็นไปได้ รู้แล้วมาบอกด้วยก็ดีนะ
7. รูปทรง บางครั้งดูเหมือนเป็นอะไรที่ยุ่งยาก แต่ถ้าอ้างเอามาจากหลักจิตวิทยาแล้วเพื่อนๆ ลองมองหาภาพสวยๆ ที่มีวัตถุวางอยู่ด้วยซักภาพนึงสิ ส่วนใหญ่มันมักไม่พ้น รูปสามเหลี่ยมใช่ไหม เพราะสามเหลี่ยมเวลามองแล้วมันน่ามอง ดูไม่แข็งทื่อ และบอบบางเกินไป ไม่เชื่อลองดูรูปที่เป็นสีเหลี่ยมสิ เขายังไม่วางให้เป็นสี่เหลี่ยมทื่อๆ ยังต้องเอียงๆ ให้ดูคล้ายสามเหลี่ยมเลย [เทคนิคการถ่ายภาพ]
8. เท่าไหร่ดี? แล้วถ้ามีคนถามล่ะว่าเราเจอวัตถุมากๆ เช่นยอดไม้ย้อนแสงหลายๆ ต้น เราควรเอามาไว้ในเฟรมเท่าไหร่ดี เพื่อนๆ จะทำยังไง อันนี้ผมก็บอกไม่ได้ เพราะผมไม่ค่อยจะเจอเหตุการณ์แบบนี้ แต่ที่เคยอ่านหนังสือมา เขาบอกว่า เราลองนับเลขดูสิ เลขอะไรสะดุดตาเราที่สุด 1-2-3 เอ๊ 4-5-6 เอ๊ะ เราคุ้นเคยกับ 555 อิอิอิ ไหม พอนับไปสามครั้งทำไมใจจะขาดทุกที นั่นแหละครับ ลองเอาเลขสามมาใช้ประโยชน์ดูนะ
9. ลองยึดหลัก Juxtaposition ดูนะ หลักนี้คือการนำวัตถุมาล้อเลียนกัน เช่น สามเหลี่ยมกับสามเหลี่ยม คนกับคน ดอกไม้กับดอกไม้เป็นต้น หลักการนี้เพิ่งอ่านมาไม่นาน จำได้ว่าคุณจิระชน ฉ่ำแสง ของ โฟโต้อินโฟเอามาลงครั้งนึง อ่านแล้วเออ มันน่าสนใจดีเลยจดจำและเอามาประยุกต์ใช้ครับ
10. ซ้ายหรือขวาดี? นั่นน่ะสิ ข้อนี้เพื่อนๆ ลองยึดหลักการเขียนหนังสือนะ เขาเขียนจากไหนไปไหน? แล้วก็ลองประยุกต์ใช้ดู คนเราบางครั้งการจะมองอะไรมักมาจากพฤติกรรมครับ ลองนึกดู หนังสือเล่มนึงวางปุ๊บเราจะมองจากไหนไปไหน แล้วมาหยุดตรงไหน ถ้าไม่ใช่ มุมซ้ายบนมามุมขวาล่าง อิอิ
11. ลองหยุดแล้วพิจารณาซักนิด หลายๆ ครั้งที่เราตื่นเต้น ผมคนนึงล่ะที่เป็นอยู่บ่อยๆ เจอภาพวัดแสงล็อคมุมแล้วแช๊ะ มันดีนะกดมาไม่พลาดแน่ แต่บางครั้งการรอก็อาจจะได้อะไรดีดีเสมอสำหรับภาพวิว ดังเช่นชุดถ่ายทะเลที่เกาะสมุยผมไปเดินเล่นๆ รออาทิตย์ตกริมหาด พอกดเสร็จถ้าผมกลับบ้านเลย ผมก็จะไม่ได้ภาพชาวประมงเก็บแหตัดแสงสีทองมา ในมัลติพลายยังไม่ได้ลงเพราะภาพมันหายไปกับฮาร์ดดิสตัวที่พัง น่าเสียดายเนอะ แต่ภาพนั้นสวยมากๆ เพราะ ถ้าอาทิตย์ตกที่เขาหลักสวย ภาพอวนสวย ภาพนั้นต้องสวยแน่ๆ สำหรับท่านที่ชื่นชอบแสงสไตล์นั้น แหะๆ .................... สำหรับการรอ ลองหยุดรอแล้วคิดซักพัก ภาพวิวจะดูดีขึ้น เช่น รอดูส่วนเกินที่จะเข้ามาในเฟรม พวกถุงพลาสติก ใบไม้ หรืออะไรที่เราไม่ต้องการ ... รอคอยสิ่งเติมเต็มเช่นคน สัตว์ หรือรถ เรือ เครื่องบิน เป็นต้น... รอแสงที่อาจจะดีกว่าเดิม(ในที่นี้อาจจะแค่ตั้งกล้องรอ แต่กดชัตเตอร์รอไปเรื่อยๆ) เป็นต้น [เทคนิคการถ่ายภาพ]
12. ควรมีขาตั้งกล้องเสมอ บ่อยครั้งที่ช่างภาพแนววิวทิวทัศน์พกพาขาตั้งกล้องถ่ายภาพแล้วตากล้องมือใหม่มักจะสงสัย ว่ากลางวันแสกๆ แสงก็ได้ สปีดฯ ก็ถึงแต่ทำไมมืออาชีพชอบใช้ จะบอกว่ามันมีหลายๆ อย่างนอกจากหลีกเลี่ยงการสั่น อันได้แก่ การจัดองค์ประกอบที่ง่ายขึ้น เพื่อลดปัญหาฟ้าเอียง หรือแม้แต่การวางกล้องรอคอยแสง หรือการถ่ายภาพเพื่อนำมาซ้อน รวมทั้งทำภาพแบบพาโนรามาได้อีกด้วย
13. เลือกที่จะไม่เเตะกล้องตอนถ่ายดีกว่าไหม อันนี้แล้วแต่เทคนิคใครเทคนิคมัน แต่เมื่อไหร่ที่มีขาตั้งกล้อง ผมเน้นเสมอที่จะไม่แตะต้องกล้องขณะที่กำลังเก็บแสง เพราะมันคือตัวการที่ทำให้ภาพถ่ายนั้นไม่คม การสั่นไหวแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะทำให้ภาพคมน้อยลงกว่าที่มันจะเป็น เหตุผลน่ะหรือ การลงน้ำหนักมือแต่ละครั้งบนชัตเตอร์ มันก็อาจจะมีผลต่อจุดเด่นได้เสมอ แม้แสงจะมีค่าความเร็วที่มากพอ แต่เพื่อนๆ เชื่อไหม หินก้อนมุมล่างขวา อาจจะมาอยู่ มุมบนขวาก็เป็นได้ หรือ อาจจะมีดวงอาทิตย์ซ้อนกันสองดวงก็ได้ ใครจะไปรู้ ยังไงเวลา ถ่ายถ้าเลือกได้ ควรมีสายลั่นชัตเตอร์ หรือระบบตั้งเวลาเพื่อกันภาพสั่นก็ดีครับ
14. ย้ำ ย้ำ ย้ำ การกดชัตเตอร์ครั้งเดียวภาพเดียวอาจเป็นผลดี คือไม่เสียเวลาและเปลืองเมม และแน่นอน กล้องของเราก็สึกหรอน้อยลง แต่มือใหม่ จะเชื่อใจตัวเองได้หรือ ว่าภาพที่ท่านถ่ายมา มันได้ภาพสวยมาแน่นอนจริงๆ ถ้าท่านมั่นใจ ก็ลืมทฤษฎีนี้ไปซะ แต่ถ้าไม่............ก็ตัดสินใจจดจำ ทฤษฎีที่ว่านี้ไว้เถอะ เพราะปัจจัยหลายๆ อย่างจากประสบการณ์มันได้บอกไว้ว่า การรัวชัตเตอร์ในบางครั้ง ภาพที่ดี อาจจะไม่ใช่การลั่นจังหวะที่ 1 เสมอไป [เทคนิคการถ่ายภาพ]
15. เช็คชัดลึกหน่อยดีไหม สำหรับกล้อง DSLR รุ่นใหม่ๆ ผมคิดว่าคงจะมีทุกตัวนะครับ วิธีการก้คือก่อนกดชัตเตอร์ลองกดดูซักนิดเพื่อเป็นการพรีวิว ก่อนถ่ายที่ดีที่สุด มันอาจจะมืดๆ บ้าง แต่นี่แหละคือการมองเห็นภาพเสมือนหลังถ่ายที่ชัดเจนที่สุด
16. ภาพไม่มีจุดเด่นไม่มีสเกล ควรทำยังไงดี อันนี้ผมจำเทคนิคมาจากเวปพิกซ์โปรฯ โดยหมอฝนแสนห่า ภาพวิวทิวทัศน์บางครั้ง ถ้าเราไม่เจอเรือ รถ เครื่องบิน คน ฯลฯ เราจะทำยังไง เมื่อเห็น เพียงทะเลเปล่าๆ ภูเขา และท้องฟ้า แต่มันสวยจับใจ อยากได้มุมนี้เสียเหลือเกิน ............ ครับ หมอฝนฯ ท่านบอกว่าให้เราโฟกัสบริเวณกลางๆ ของเฟรมครับ เพื่อการครอบคลุมความชัดทั้งเฟรมได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ควรลืมการเลือกค่ารูรับแสงที่ดีที่สุดสำหรับมันนะครับ
17. เล่นกะค่าเคลวิน ในบางครั้งภาพธรรมดาๆ แสงปกติๆ ก็อาจจะสวยได้ถ้าเราเข้าใจเทคนิคการให้สีแบบค่าเคลวิน เพราะเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ชอบสีสัน ลองถ่ายน้ำธรรมดาๆ สีขาวๆ ใสๆ ให้เป็นสีอื่นดูสิ มันจะน่ามองกว่ากันไหม
18. ใช้แฟลชเปิดรายละเอียด หลายๆ ครั้งที่เห็นภาพวิวสวยๆ ท่านเคยรู้ไหมภาพวิวก็มีการใช้แฟลช ลองนึกถึงสภาพตอนโพล้เพล้ อาทิตย์อัสดงกับฉากหน้ามืดๆ สิ บางทีทำ HDR ก็ทำไม่ได้ ถ้าด้านล่างกับด้านบนต่างกันมาก แต่มันมีบางสิ่งบางอย่างชดเชยได้ นั่นคือการใช้แฟลช
[เทคนิคการถ่ายภาพ]
[เทคนิคการถ่ายภาพ]