ss

1 กรกฎาคม 2553

เทคนิคการ่ถ่ายภาพระยะชัดลึก (Dept of Field)


การถ่ายภาพระยะชัดลึก (Dept of Field)
การเริ่มต้นถ่ายภาพจริงจังสำหรับมือใหม่ นอกจากการฝึกปรับความชัดแม่นยำ และถูกตำแหน่งแล้ว ยังต้องเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการควบคุมระยะชัดลึกของภาพ ซึ่งบ่อยครั้งที่ช่างภาพมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยังตอ้งตกม้าตายกับเรื่องนี้ สาเหตุมาจากการใช้กล้องถ่ายภาพที่มีระบบอัติโนมัติมากมาย ทำให้ละเลยที่จะเรียนรู้พื้นฐานการถ่ายภาพที่สำคัญ เช่นการควบคุมระยะชัดลึก ส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความสมบูรณ์ไปอย่างน่าเสียดาย



ระยะชัดลึก( Depth of field) คืออะไร
ระยะชัดลึก บางครั้งก็เรียกว่าความชัดลึก คือควมชัดด้านหน้าและด้านหลังของตำแหน่งที่เราปรับความชัด เช่นหากถ่ายภาพบุคคลเต็มหน้าและปรับความชัดที่ดวงตา ในทางทฤษฎีภาพจะชัดเฉพาะที่ระนาบของดวงตาเท่านั้น (ไม่สามารถปรับความชัดหลายๆระนาบได้ เช่น ไม่สามารถปรับความชัดที่ 3,4 หรือ 5 เมตรในภาพเดียวกันได้ตอ้งปรับความชัดที่ระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น) ลำแสงจากวัตถุที่เราปรับโฟกัสให้ชัดจะไปตัดกับจุดระนาบฟิล์มพอดี แต่ความชัดจะบางเหมือนแผ่นกระดาษและอยู่ระนาบเดียวกับระนาบเซ็นเซอร์ สำหรับกลอ้งถ่ายภาพปกติ(ยกเว้นกลอ้งที่สามารถปรับมุมของระนาบเลนส์และระนาบฟิล์มได้ เช่นกลอ้งวิว หรือกลอ้งบางประเภทเท่านั้น ที่สามารถบิดระนาบความชัดไปมาได้) ทำให้ส่วนที่เป็นแก้ม ใบหู ฉากหลังและฉากหน้าเบลอไป เพราะลำแสงของภาพจากส่วนที่ไม่ใช่ความชัดนี้จะไม่ตัดกันเป็นจุด แต่จะตัดกันเป็นวงกลมขนาดใหญ่แทน ทำให้ภาพนอกระยะตำแหน่งปรับความชัดเบลอไป เราเรียกจุดและวงกลมที่เกิดจากลำแสงไปตัดกันที่ระนาบฟิล์มนี้ว่า Circle of confusion ในทางปฎิบัติเราสามารถควบคุมความชัดของภาพให้เพิ่มขึ้นจากระนาบความชัดได้ โดยการลดขนาดลำแสงที่ผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มมีขนาดเล็กลง นั่นคือการลดขนาดรูรับแสงของเลนส์ให้เล็กลง ยิ่งหรี่ขนาดรูรับแสงเพิ่มขึ้นเท่าไร จะทำให้วงกลมนี้เล็กลงเรื่อยๆ จนกระทั่งฟิล์มและสายตาไม่สามารถแยกแยะออกได้ว่า ลำแสงตัดกันเป็นจุดหรือวงกลมทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมาได้ นั่นคือ การเกิดระยะชัดทางด้านหน้าและด้านหลังระนาบที่ถูกปรับให้ชัด หรือเป็นการเกิด Depth of field นั่นเอง ขนาดของ Circle of confusion ใหญ่ที่สุดซึ่งกลายเป็นจุดอันจะทำให้ภาพเกิดความชัดขึ้นมา เราเรียกว่า Permissible circle of confusion ซึ่งขนาดของวงกลมดังกล่าวนี้ จะมีกรกำหนดไม่เท่ากันในผู้ผลิตเลนส์แต่ละราย เพราะขนาดของ circle of confusion ขึ้นกับระยะที่มองภาพอัตราขยายภาพ ความแตกต่างของสีหรือแสงระหว่างฉากหน้ากับฉากหลัง
แสงสว่างที่ส่องมายังภาพ รวมไปถึงสายตาของผู้มองภาพด้วย เช่น ถ้าเรามองภาพจากระยะไกล เราจะแยกภาพชัดกับไม่ชัดยากกว่าการมองภาพใกล้ๆ และการขยายภาพขนาดเล็กกับขนาดใหญ่มากๆ ก็จะแสดงความชัดกับไม่ชัดของภาพออกมาได้มากกว่า แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูภาพส่วนใหญ่จะมองภาพด้วยระยะห่างประมาณ เส้นทแยงมุมของภาพอันเป้นเรื่องของมุมรับภาพของสายตา หากภาพมีขนาดเล็กก็จะดูภาพในระยะใกล้ ภาพขนาดใหญ่ก็จะดูภาพจากระยะไกล ดังนั้น เราจึงถือว่าอัตราขยายภาพและระยะการมองไม่มีผลต่อขนาดของ Circle of confusion ในทางปฎิบัติ โดยมาตรฐานแล้ว จะกำหนดระยะการมองภาพไว้ที่ 10 นิ้ว ด้วยปัจจัยหลายประการนี้เอง ทำให้เลนส์ต่างยี่ห้อที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน ขนาดรูรับแสงเท่ากัน แต่มีตัวเลขความชัดลึกที่กระบอกเลนส์ไม่เท่ากัน แต่ภาพที่ถ่ายออกมานั้นจะมีความชัดลึกเท่ากัน และที่น่าแปลกใจคือ ไม่ได้มีข้อกำหนดร่วมกับเลนส์ของผู้ผลิตแต่ละรายว่าควรจะใช้ ขนาดของ Circle of confusion นี้เท่าไร ตามมาตรฐานทั่วไปจะกำหนดที่ขนาด 1/1000 นิ้ว หรือ 0.003937 มม. แต่ในการผลิตจริง ของผู้ผลิตเลนส์จะมีค่าตั้งแต่ 1/70 ถึง 1/200 นิ้ว




ชัดลึกและชัดตื้น

ระยะชัดทางด้านหน้าของตำแหน่งที่ปรับความชัด เราจะเรียกว่า ชัดตื้น ส่วนระยะชัดด้านหลังของระนาบความชัด เราเรียกว่าชัดลึก ระยะชัดจากด้านหลังสุดเราเรียกว่า ช่วงความชัด เช่นเลนส์ขนาด 50 มม. ปรับความชัดที่ระยะ 3 เมตร ปรับขนาดรูรับแสง f/16 ระยะชัดด้านหน้าอยู่ที่ 2 เมตร ระยะชัดด้านหลังอยู่ที่ 10 เมตร ถึง 10 เมตร หรือมีช่วงระยะชัด 8 เมตร เป็นต้น กลอ้งถ่ายภาพ 35 มม. DLR หรือกลอ้งดิจิตอล SLR ในปัจจุบันเป็นระบบ Auto Diaphragm ซึ่งเลนส์จะเปิดรูรับแสงกว้างสุดเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปรับความชัด (ปรับโฟกัส) และช่องมองภาพได้ง่ายขึ้น ดังนั้นภาพที่ปรากฏในช่องมองภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยที่สุดของเลนส์ที่กำลัง ใช้งานอยู่ เมื่อชัตเตอร์บันทึกภาพ ระบบควบคุมของกลอ้งจะทำให้รูรับแสงหรี่ลงมาตามขนาดรูรับแสงจริงที่เราตั้งเอาไว้จากนั้นชัตเตอร์จึงทำงาน หลังจากที่ชัตเตอร์ปิด รูรับแสงก็จะเปิดกว้างสุดเหมือนเดิม หากถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงแคบ เช่น f/11 คุณก็จะได้ภาพถ่ายที่มีระยะชัดลึกมากกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพ ชัดลึกและชัดตื้นจะมีความหมายในอีกกรณีหนึ่ง คือการชัดและเบลอของฉากหน้าและฉากหลัง ถ้าฉากหน้าและฉากหลังเบลอมากเราเรียกว่า ชัดตื้น หากชัดมากเราจะเรียกว่าชัดตื้น แต่เนื่องจากความชัดลึกชัดตื้นในกรณีนี้เป็นความรู้สึกของผู้ดูภาพซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป
การควบคุมความชัดลึก
คุณสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ด้วยตัวเอง ความชัดลึกของภาพกำหนดโดยขนาดของ Circle of confusion ซึ่งถ้าเราให้เลนส์แต่ละยี่ห้อมีขนาด Circle of confusion เท่ากันแล้ว เราจะรู้ได้ว่าเลนส์ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะแพงหรือถูกเพียงใด หากมีทางยาวโฟกัสเท่ากันและขนาดรูรับแสงเท่ากัน จะมีระยะชัดลึกเท่ากันด้วยอัตราการขยายภาพไม่มีผลต่อความชัดลึกของภาพดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้และเราสามารถควบคุมความชัดลึกของภาพได้ 3 วิธี การควบคุมขนาดรูรับแสง (F-Number) การลดขนาดรูรับแสงลง จะทำให้ระยะชัดลึกด้านหน้าและด้านหลังจุดปรับความชัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าความชัดที่เห็นในช่องมองภาพนั้นเป็นความชัดที่ขนาดรูรับแสงกว้างสุด หากต้องการตรวจสอบว่าค่ารูรับแสงที่ใช้จะทำให้ระยะชัดลึกมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้โดยการกดปุ่มเช็กชัดลึกที่ตัวกลอ้ง (ถ้ามี) ระยะปรับความชัด ( Focusing distance) ระยะชัดลึกจะแปรผันตามระยะชัด การปรับความชัดใกล้ขึ้นจะทำให้ภาพมีความชัดลึกลดลง พูดง่ายๆคือ ยุ่งถ่ายภาพใกล้มากเท่าใด ภาพก็จะมีระยะชัดน้อยลงตามลำดับ ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ( Focal Length) เมื่อถ่ายภาพที่ระยะห่างและขนาดรูรับแสงเดียวกัน เลนส์เทเลโฟโต้จะให้ภาพที่มีระยะชัดลึกน้อยกว่าเลนส์มุมกว้าง ยิ่งทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเท่าไร ช่วงระยะชัดลึกก็จะน้อยลงตามลำดับ บทสรุป เมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับระยะชัดลึกแล้ว คุณสามารถนำความรู้นี้ ไปใช้ในการควบคุมระยะชัดลึกของภาพได้ และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จะช่วยให้การตัดสินใจในเรื่องของ การควบคุมระยะชัดลึก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่นเมื่อตอ้งการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัดทั้งภาพ คุณตอ้งใช้เลนส์มุมกว้างที่มีคุณสมบัติชัดลึกมากกว่าเลนส์เทเล แล้วปรับรูรับแสงแคบเพื่อเพิ่มระยะชัด แต่ถ้าตอ้งการถ่ายภาพให้ชัดตื้น เช่นถ่ายภาพบุคคลให้ฉากหลังเบลอ ตอ้งเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ เช่น 100 หรือ 200 mm. ถ่ายภาพโดยเปิดรูรับแสงกว้างสุดและเข้าไปถ่ายภาพใกล้ๆ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ภาพที่ชัดตื้นหรือมีฉากหลังเบลออย่างง่ายดาย

(ขอบคุณบทความจากนิตรสาร SHUTTER PHOTOGRAPHY)

บทความกล้องดิจิตอลยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง